เมนู

มุสาวาทครุลหุภาวปัญหา ที่ 9


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภุมินทรมีพระราชโองการประภาษถามอีกเล่าว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า ภาสิตํ เจตํ ภควตา สมเด็จพระมหากรุณาธิคุณอดุลยโลกา-
จารย์ญาณสัพพัญญูเจ้า มีพระพุทธฎีกาว่า สัมปชานมุสาวกนี้ถ้าต้องแล้ว ก็เรียกว่าอาบัติ
ปาราชิก ตรัสฉะนี้แล้ว ปุน จ ภณิตํ นานมาครั้งหนึ่งเล่า สมเด็จพระพุทธองค์เจ้ามีพระพุทธ-
ฎีกากลับเสียว่า สัมปชานมุสาวาทนี้เป็นแต่ลหุกาบัติดอก หาเป็นอาบัติปาราชิกไม่ เป็นสเตกิจ
ฉาพอเยียวพอยาพอจะเทศนาบัติแก่พระภิกษุองค์ใดองค์หนึ่งได้ นี่แหละโยมพินิจพิเคราะห์ไป
เห็นอยู่ว่า พระพุทธฎีกาทั้งสองนี้ไม่ต้องกัน จะเชื่อคำก่อนนั้นเล่า คำภายหลังของพระองค์เจ้าก็
จะผิด ครั้นจะเชื่อคำภายหลัง คำก่อนนั้นก็ผิด อยํ ปญฺโห อันว่าปริศนานี้ อุภโต โกฏิโก มีเงื่อน
เป็นสองไม่ต้องกัน โยมนี้พิเคราะห์ดูปัญหานี้ให้สงสัยนักหนา นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาให้
แจ้งในกาลบัดนี้
พระนาคเสนเถรเจ้าจึงถวายพระพรวิสัชนาว่า ภาสิตํ เจตํ มหาราช ขอถวาย
พระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ สมเด็จพระมหากรุณาเจ้ามีพระพุทธฎีกาตรัสว่า
สัมปชานุสาวาทนี้ ถ้าภิกษุต้องแล้วก็เป็นปาราชิก ครั้นแล้วพระองค์บัญญัติอีกว่า สัมปชา-
นมุสาวาทนี้เป็นแต่ลหุกาบัติ พอเยียวยาพอจะเทศนาบัติได้ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า
ตรัสบัญญัติตามวัตถุหนักวัตถุเบา ถ้าวัตถุหนักก็เป็นปาราชิก ถ้าวัตถุเบาก็เป็นแต่ลหุกาบัติ
ตํ กึ มญฺญสิ มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ทรงเข้าพระทัยอย่างไร ใช่
กระนั้นพระพุทธฎีกานี้ตรัสเป็นสองสถาน จะรู้อาการโดยอุปมา เปรียบดุจหนึ่งว่า บุรุษคนหนึ่ง
มาประหารบพิตรพระราชสมภารด้วยมือ บุรุษผู้หนึ่งประหารคนอื่นอันเป็นไพร่บ้านพลเมือง
ด้วยมือ คนที่ประหาร 2 คนนี้โทษเหมือนกันหรือประการใด
ราชา สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่
พระผู้เจ้า บุรุษทั้ง 2 นั้นมีโทษต่างกัน คือบุรุษที่ประหารเขาอื่นนั้นโทษเป็นแต่ต้องปรับไหม
แต่บุรุษที่ประหารโยมเข้าด้วยมือนั้นต้องมหันตโทษทารุณร้ายกาจ ในพระราชกำหนดบทนั้น
สาหัสสากรรจ์นักหนา หตฺถปาทจฺเฉทํ กตฺวา ให้ตัดตีนสินมือ สพฺพเคหํ วิลุมฺเปยฺย ให้ริบรื้อ
สมบัติบ้านเรือนป็นเรือนหลวง และของทั้งปวงก็ริบเข้าท้องพระคลัง อุภโต ปกฺเข ยาว สตฺตกุลํ
ให้ฆ่าเสียซึ่งญาติของบุรุษผู้นั้น ฝ่ายบิดาเจ็ดชั่วโคตร ฝ่ายมารดาเจ็ดชั่วโคตร กับทั้งบุรุษผู้นั้น
นี่แหละประหารด้วยมือเหมือนกันก็จริงแล แต่ทว่าโทษมากกว่ากัน ไม่เหมือนกัน
ขณะนั้นพระนาคเสนจึงถามว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร บุรุษ
ทั้ง 2 นี้ประหารด้วยมือด้วยกัน ก็ไฉนโทษจึงไม่เหมือนกัน